Thursday, 2 May 2024

วรรณกรรม วรรณคดี วรรณศิลป์ คืออะไร ?

ในโลกของเรานั้นก็มีศิลปะอยู่หลากหลายแขนงค่ะ โดยเรานั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็น วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์ ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ก็เป็นศิลปะที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งในทุกประเทศก็จะมีศิลปะเหล่านี้ที่เป็นของตัวเองกันทั้งนั้น ในประเทศไทยเองก็มีเช่นเดียวกัน แถมยังมีศิลปะแบบนี้ที่บอกได้เลยว่าหลากหลายมาก ๆ เลยค่ะ และวันนี้บทความของเราก็จะพาทุกท่านมารู้จักกับศิลปะทั้ง วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์ ว่าคืออะไรและมีเรื่องใดที่น่ารู้บ้าง

วรรณกรรม วรรณคดี วรรณศิลป์ คืออะไร

วรรณกรรม

วรรณกรรม คือ ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ โดยผ่านการสื่อสารจากมนุษย์ที่มาจากความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการจนได้ออกมาให้เราได้อ่านกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ งานประพันธ์ , บทกวี , ตำรา , หรือว่าจะเป็นบทความต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น และวรรณกรรมนี้เองที่เป็นสิ่งที่เรานั้นสามารถเห็นกันได้อยู่ตลอดในทุกวัน เพราะจะวนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา โดยที่ศิลปะแขนงนี้นั้นเป็นศิลปะที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ในเรื่องของการสรรค์สร้างภาษาขึ้นมาผ่านการสื่อสารผ่านจินตนาการที่มีประโยชน์สูงสุดได้เป็นอย่างดี

วรรณกรรม มีอะไรบ้าง

วรรณกรรมที่เราเห็นกันว่ามีอยู่หลากหลายนั้นอาจดูเหมือนว่ามีอยู่มากมายหลายประเภท เนื่องจากการแต่งบทวรรณกรรมต่าง ๆ นั้นจะต้องใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการถ่ายทอดออกมาเพื่อให้มีความสนใจมากที่สุด แต่แท้จริงแล้ววรรณกรรม มี 2 ประเภท ได้แก่

1. วรรณกรรมสารคดี

วรรณกรรมสารคดี คือ งานเขียนที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการให้ความรู้ผ่านการถ่ายทอดหรือจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาของผู้เขียน ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้ก็มักจะเป็นหนังสือที่มีประโยชน์ในด้านเนื้อหาและทำให้ผู้อ่านนั้นเกิดความเข้าใจสูงสุดเมื่อได้อ่านสิ่งนั้น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว เช่น หนังสือเรียน , บทความ , ใบปลิว , ตำราความรู้ต่าง ๆ ฯลฯ

2. วรรณกรรมบันเทิงคดี

วรรณกรรมบันเทิงคดี คือ งานเขียนที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของความเพลิดเพลินหรือความสนุกสนานหรือการถ่ายทอดความคิดหรือจินตนาการที่สร้างสรรค์ของผู้เขียนซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้รับสารหรือผู้อ่านนั้นเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานและผ่อนคลาย เช่น นวนิยาย , นิทาน , บทเพลง ฯลฯ

นอกจากนี้วรรณกรรมยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. ร้อยแก้ว คือ งานเขียนที่จะต้องใช้ทักษะในเรื่องของการเรียบเรียงถ้อยคำให้มีความคล้องจองและสละสลวย โดยการใช้ กาพย์ , กลอน , นิราศ , หรือโคลง ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการสัมผัสคำ เมื่ออ่านแล้วจะมีความไพเราะเสนาะหูชวนให้อยากอ่านมากขึ้น เช่น พระอภัยมณี , ขุนช้างขุนแผน , อิเหนา เป็นต้น
  2. ร้อยกรอง คือ งานเขียนที่ใช้รูปแบบการเขียนแบบความเรียงหรือเรียงความ โดยที่คำที่ใช้นั้นไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสคำหรืออักษรและไม่ต้องสละสลวย แต่จะเน้นไปที่การอ่านแล้วสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ เช่น นิทาน , นวนิยาย , เป็นต้น

วรรณคดี

วรรณคดี คือ วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ถูกได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่เขียนดีแต่งได้ดี และมีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ด้วย โดยวรรณคดีส่วนใหญ่ก็จะเน้นไปในรูปแบบของบันเทิงคดีที่ทำให้ผู้อ่านนั้นเกิดความเพลิดเพลินและความรู้สึกร่วมไปในการอ่าน โดยวรรณคดีในประเทศไทยนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยใช้การประเมินค่าของวรรณกรรมแต่ละเรื่องว่ามีความน่ายกย่องและมีความโดดเด่นเพียงใด โดยกฤษฎีการตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นนั่นเอง

วรรณคดี มีอะไรบ้าง

วรรณคดี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีแบบที่เล่ากันมาปากต่อปากและไม่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในทางเดียวกันวรรณคดีแบบนี้นั้นก็ได้รับความนิยมที่ในการเผยแพร่แบบสืบเนื่องต่อ ๆ กันมา เช่น เพลงพื้นบ้าน , นิทานพื้นบ้าน , บทร้องเล่น
  2. วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรณคดีลายลักษณ์ คือ วรรณคดีที่มีการจดบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถตรวจสอบได้และเนื้อหาภายในก็จะไม่มีการดัดแปลงเป็นอื่นไป อีกทั้งวรรณคดีรูปแบบนี้นั้นก็จะมีการใช้ศิลปะทางด้านโวหารการประพันธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบของภาษาจนได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีที่สมควรได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เช่น ไตภูมิพระร่วง , ลิลิตตะเลงพ่าย , สามก๊ก เป็นต้น

นอกจากนี้วรรณคดีนั้นก็ยังมีหลายหมวดหมู่ให้ได้ศึกษาและให้ผู้อ่านสามารถที่จะเลือกอ่านได้ตามความสนใจ ซึ่งเนื้อหาภายในนั้นก็จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกร่วมไปกับสิ่งที่อ่าน ทั้งความรู้สึกซาบซึ้ง ความรู้สึกมีความสุข หรือความรู้สึกใด ๆ ก็ตามที่จะคล้อยไปกับเรื่องที่ได้อ่าน แต่ในทางตรงกันข้ามหากเรื่องที่ผู้อ่านอ่านแล้วไม่เกิดความรู้สึกใด ๆ เหล่านี้เลย ก็จะไม่ถือว่านั่นเป็นวรรณคดี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วรรณกรรมที่ถูกแต่งมาอย่างหลากหลายนั้นไม่ได้ถูกรับการยกย่องทั้งหมดนั่นเอง

วรรณศิลป์

วรรณศิลป์ คือ รูปแบบหรือศิลปะในการแต่ง ประพันธ์ หรือการเขียนวรรณกรรมต่าง ๆ ในมีความสละสลวย ตรงตามรูปแบบของการแต่ง โดยจะเน้นไปที่ความรู้สึกของผู้อ่านเป็นหลักว่าเมื่ออ่านแล้วจะเกิดความรู้สึกอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่นเดียวกันกับศิลปะแขนงอื่น ๆ

วรรณศิลป์ มีอะไรบ้าง

วรรณศิลป์ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. อารมณ์สะเทือนใจ ในงานเขียนทุกประเภทนั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้เขียนนั้นจะต้องเขียนให้เกิดความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน หรือเกิดอารมณ์สะเทือนใจ ซึ่งคำว่า “อารมณ์สะเทือนใจ” ในที่นี้นั้นไม่ได้หมายถึงความรู้สึกรุนแรงหรือโศกเศร้าเสียใจ แต่จะหมายถึงในเรื่องที่ผู้เขียนได้ทำการเขียนจะต้องสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างชัดเจน เช่น อารมณ์รัก , อารมณ์ขัน , อารมณ์โกรธ เป็นต้น
  2. ความคิดและจินตนาการ นั้นมีความแตกต่างกันเพียงเส้นบาง ๆ ซึ่งการเขียนงานให้ได้ผลดีจะต้องทำให้ความคิดและจินตนาการนั้นสามารถดำเนินไปด้วยกันได้ เพื่อที่จะไม่ให้งานนั้นออกทะเลจนเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้งานเขียนดูไม่มีความสมบูรณ์และไม่ได้รับการยกย่องนั่นเอง
  3. การสื่อสารกับผู้อ่าน ในที่นี้จะหมายถึงการที่ผู้เขียนจะต้องเขียนอย่างไรก็ได้ให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเรื่องที่ได้อ่านไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งถึงแม้ว่าเรื่องที่คุณเขียนหรือแต่งนั้นจะมีชื่อเรื่องที่ดีหรือเล่มจะหนาบางเพียงใด หากผู้อ่านได้อ่านไปแล้วรู้สึกว่าไม่เข้าใจนั้นก็ผิดกับหลักของวรรณศิลป์ทั้งสิ้น
  4. อัตลักษณ์ของผู้เขียน ในส่วนนี้เราจะสังเกตได้ว่าเราเองที่เป็นผู้อ่านนั้นเมื่อได้อ่านบ่อย ๆ ก็จะรู้สึกว่าวิธีการเขียนของนักเขียนแต่ละคนนั้นจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งนั่นก็คืออัตลักษณ์ของผู้เขียน โดยที่เรื่องของการสร้างอัตลักษณ์ให้กับตนเองนั้นเป็นสิ่งที่นักเขียนจะต้องทำการสั่งสมจากประสบการณ์ในการเขียนของตนให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถรับรู้ได้ว่างานเขียนที่มีรูปแบบของการเขียนแบบนี้เป็นงานเขียนของนักเขียนคนใด
  5. กลวิธีในการเขียน นักเขียนแต่ละคนก็จะมีกลวิธีในการเขียนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราเองที่เป็นผู้อ่านนั้นจะสามารถสังเกตได้ว่าเวลาที่เราอ่านหนังสือเล่มนี้หรือบทประพันธ์นี้ทำไมมันถึงได้สนุกจนเรานั้นไม่สามารถที่จะหยุดอ่านได้และมีความลุ้นตลอดเวลาว่าเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับการเรียบเรียงเหตุการณ์และการเรียงลำดับเวลาเป็นสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญมาก ๆ ในการเขียนงานให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามและทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
  6. องค์ประกอบของเรื่อง องค์ประกอบของการดำเนินเรื่องนั้น จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 อย่าง ได้แก่ โครงเรื่อง, ตัวละคร, สถานที่, บทพูด / บทละคร, มุมมอง และ แก่นของเรื่อง

ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 6 อย่างนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เขียนจะต้องร่างขึ้นมาก่อนเพื่อที่จะไม่ให้เกิดการเรียงลำดับเรื่องราวในการเขียนที่ผิดพลาด และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องได้มากขึ้น

สรุปความแตกต่างของ วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์

วรรณกรรม วรรณคดี และ วรรณศิลป์ นั้น หากมองโดยภาพรวมแล้วก็เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด และศิลปะที่เป็นความงดงามทางด้านภาษาเหล่านี้นี่แหละที่จะทำให้เรารู้ว่าความคิดหรือจินตนาการของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่มีค่า ดังนั้นจึงควรให้ความคิดและสติปัญญาในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีมีและสวยงามนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์ จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาและรักษาเอาไว้นั่นเอง